EPD คืออะไร ทำไมถึงสถาปนิกถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคารที่มีฉลาก EPD

หลาย ๆ คน คงได้ยินชื่อ EPD มาบ้าง วันนี้ K.S. WOOD จะพาทุกท่านมารู้จัก EPD แบบเจาะลึก ข้อมูลอ่านสบาย ย่อยง่าย เข้าใจทุกอย่างในโพสต์เดียว!

ปัจจุบันนี้ การปกป้องสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญมาก ในหลายประเทศทั่วโลกจึงเล็งเห็นความสำคัญในการลงทุนด้านนี้มากขึ้น นอกจากการประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน วิถีชีวิตชุมชนโดยรอบดีขึ้น สิ่งก่อสร้างหรืออาคารยังได้รับใบรับรองความยั่งยืนด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากองค์กรต่าง ๆ เช่น LEED Verified

ปัจจุบัน ECO LABEL หรือฉลากรักษ์โลก (สิ่งแวดล้อม) สำหรับวัสดุก่อสร้างมีหลากหลายประเภท เป็นจำนวนมาก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า วัสดุก่อสร้างชนิดใดบ้างที่มีความยั่งยืนด้านรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

ECO LABEL แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 วัสดุที่มีการประเมินคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม และหากพบว่า ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าหรือเทียบเคียงค่ามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์นั้นจะได้รับใบรับรอง ซึ่ง ฉลากเขียวสิงคโปร์ อยู่ในฉลากประเภทนี้

ประเภทที่ 2 วัสดุที่ ‘ผู้ผลิต’ เป็น ‘ผู้รับรอง’ ว่า ผลิตภัณฑ์ของตน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามข้อกำหนดที่ตนกำหนดไว้

จากฉลากทั้งสองประเภทนี้ มีการพูดถึงเพียงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แล้วผู้ออกแบบและผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ECO Label ประเภทที่ 3 ฉลากที่มีการประเมินแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ มีการระบุอย่างชัดเจน ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การเก็บรักษาคงสภาพ การขนส่งถึงมือผู้บริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยเกณฑ์ต้องเป็นไปตามหลักการประเมิน วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) ซึ่ง EPD อยู่ใน ECO Label ประเภทนี้

ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น

โจทย์ : ต้องการสร้างกระท่อมที่ขั้วโลกเหนือ

วัสดุที่เลือกใช้ : หิมะ

หิมะ เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถรีไซเคิลได้อย่างเต็มที่

กระท่อมหิมะสามารถใช้สร้างด้วยมือ แทบไม่มีพลังงาน หรือพลังงานเป็นศูนย์

มุมมองทางนิเวศวิทยา หิมะถือว่าเป็นวัสดุที่ยั่งยืน

แต่ถ้าต้องการไปสร้างกระท่อมหิมะที่อื่น เช่น ทะเลทราย จะต้องมีการขนส่งวัสดุในระยะไกล จะต้องมีการคงสภาพหิมะและป้องกันไม่ให้หลอมละลาย จึงทำให้เย็นลง ก่อให้เกิดการใช้วัสดุมาช่วยคงสภาพ และเกิดการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในกรณีนี้ มุมมองทางนิเวศวิทยา หิมะถือว่าเป็นวัสดุที่ไม่ยั่งยืน

จากตัวอย่างการคัดเลือกวัสดุ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจึงมาจากหลายปัจจัย ไม่ใช่เพียงแค่คุณสมบัติของวัสดุเท่านั้น เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ข้อมูลฉลากประเภทที่ 1 และ 2 ไม่เพียงพอที่จะทำให้ การออกแบบอาคารได้รับการรับรองอาคารสีเขียวได้ เช่น LEED ฉลากประเภทที่ 3 จึงตอบโจทย์เรื่องอาคารสีเขียว

EPD (Environmental Product Declaration) Statement

คือการประกาศข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ที่มาของส่วนผสม คุณสมบัติ การผลิต การจัดเก็บหรือคงสภาพของผลิตภัณฑ์ การขนส่งไปถึงมือผู้ใช้ รวมถึงอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ EPD ส่วนใหญ่จะถูกตีพิมพ์ในยุโรป โดยองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม IBU (Institut Bauen und Umwelt e.V.) ในเยอรมนี

กว่าจะได้รับการรับรองความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมข้อมูลผลิตภัณฑ์จาก EPD ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง

จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุก่อสร้าง และหน่วยงานอิสระด้านกฎหมวดหมู่/ประเภทผลิตภัณฑ์ หรือ PCR จะเป็นผู้ทำข้อมูล ข้อกำหนดสำหรับการเปรียบเทียบ การประเมิน ขอบเขต และการตัดสิทธิ์ของผลิตภัณฑ์ ส่งต่อไปยัง PCI

PCI ช่วยสร้างและจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตามที่ PCR กำหนด ซึ่งผู้ผลิตสามารถประกาศข้อมูลตั้งแต่ที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ตลอดจนถึงการสิ้นสุดอายุของอาคาร ข้อมูลทั้งหมดที่เตรียมจะส่งไปยัง IB

IBU จะทำการตรวจสอบและส่งต่อไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง

องค์กรอิสระจะผลการตรวจสอบกลับมายัง IBU อีกครั้ง หากทุกอย่างเรียบร้อยเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด IBU จะออกเอกสารรับรอง EPD ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งจะถูกเผยแพร่เป็นสารธณะแบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ IBU

จะเห็นได้ว่า EPD ไม่ใช่การประเมินวัสดุก่อสร้าง แต่เป็นการประเมินแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ที่มีการระบุอย่างชัดเจน ส่วนผสมต่าง ๆ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดวงจรชีวิต

นอกจากนี้ EPD ยังอิงตามมาตรฐานสากล และได้รับการยืนยันจากองค์กรตรวจสอบอิสระอีกด้วย

ข้อมูลเหล่านี้ จึงเพียงพอที่สถาปนิกจะนำไปวางแผนวัสดุก่อสร้างให้เหมาะสม ในการออกแบบอาคาร เพื่ออาคารจะได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เช่น LEED ได้

ประโยชน์ของ EPD

  • EPD ช่วยให้ผู้บริโภคทราบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
  • EPD ช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด
  • EPD มีรายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้
  • EPD ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อได้
  • EPD กระตุ้นศักยภาพการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ผ่านกลไกทางการตลาด
  • EPD ช่วยให้ได้ Point ในการขอมาตรฐาน LEED อีกด้วย