ไม้ลามิเนต Vs ไม้เอ็นจิเนียร์

ไม้ลามิเนต Vs ไม้เอ็นจิเนียร์

หลายๆ คนอาจเกิดความสงสัย เวลาที่ต้องการจะค้นหาข้อมูลการแต่งบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ในส่วนของพื้นบ้าน ซึ่งแต่ละคนก็คงรับข้อมูลพื้นมาหลายแบบ แต่เคยสงสัยกันมั้ยครับ ว่าวัสดุปูที่ใช้ปูพื้น อย่าง “ไม้ลามิเนต” กับ “ไม้เอ็นจิเนียร์” ที่ดูผ่านๆ รูปลักษณ์ภายนอกก็ไม่ทราบว่ามันต่างกันอย่างไรนั้น แท้จริงแล้ว อะไรคือจุดที่ต่างกันไปสำหรับไม้พื้น 2 ชนิดนี้

วันนี้ K.S. Wood ก็มีบทความดีๆ มาประกอบการตัดสินใจ มาดูกันนะครับว่า “ไม้ลามิเนต” กับ “ไม้เอ็นจิเนียร์” แตกต่างกันอย่างไร

เริ่มต้นที่ “ไม้ลามิเนต”

ไม้ลามิเนต

คำว่า “ลามิเนต” (Laminate) ในภาษาอังกฤษ หมายถึงสิ่งที่เป็นชั้นๆ ชิ้นบางๆ เป็นคำที่นำมาเรียกกับพื้นไม้ลามิเนต เนื่องจากพื้นไม้ลามิเนตเกิดจากการผลิตด้วยกรรมวิธีบีบอัดไม้ด้วยความแรงสูง จากนั้นจึงรวมเข้าด้วยกันกับชั้นอื่นๆ ร่วมกับความร้อน โดยพื้นไม้ลามิเนต จะประกอบไปด้วยชั้นต่างๆ จำนวน 4 ชั้น ได้แก่

  1. ชั้นด้านบนสุดของพื้นไม้ลามิเนต (Protective Layer) เป็นชั้นที่ถูกออกแบบเพื่อป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วน
  2. ชั้นลายไม้ของพื้นไม้ลามิเนต (Pattern Layer) เป็นชั้นที่ถูกออกแบบโดยระบบคอมพิวเตอร์ ปริ๊นลงกระดาษ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักออกแบบ เลียนแบบลายไม้จริง
  3. ชั้นตรงกลางของไม้พื้นลามิเนต (Substrate Layer) มีการผลิตโดยใช้ไม้เนื้อแข็งมาย่อย จึงทำให้ชั้นนี้มีความหนาแน่นที่สุด จากนั้นนำไปผสมกับสารอื่นๆ อาทิ สารป้องกันความชื้น สารป้องกันปลวกและแมลง จากนั้นทำให้เป็นแผ่นด้วยวิธี High Density Fiberboard ซึ่งทำให้ไม้มีความคล้ายกับไม้ธรรมชาติแต่มีการยืดหดตัวน้อยกว่าไม้จริงมาก
  4. ชั้นล่างสุดของไม้พื้นลามิเนต (Backing Layer) เป็นแผ่นพลาสติกที่มีคุณสมบัติป้องกันความชื้นและปลวก อีกทั้งยังมีความแข็งแรงกว่าไม้จริงอีกด้วย

ข้อดีของไม้ลามิเนต

  1. ติดตั้งง่าย ด้วยระบบคลิกล็อค ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน
  2. ไม่เกิดเชื้อราแบคทีเรีย และเชื้อโรค
  3. ผิวหน้าไม้ลามิเนตทนต่อแสงแดด ทนต่อรอยขีดข่วนและขี้เถ้าบุหรี่
  4. ราคาถูก มีให้เลือกหลากหลาย

ข้อเสียของไม้ลามิเนต

  1. ทนความชื้นได้ไม่ดีมากนัก กรณีเกิดอุบัติเหตุน้ำหกก็ต้องรีบเช็ดออกโดยทันที
  2. ติดตั้งได้บนพื้นที่เรียบได้ระดับเท่านั้น หากพื้นที่ไม่เรียบเมื่อติดตั้งจะเป็นเสียงดังขณะเดิน
  3. ไม่สามารถขัดสีออก เพื่อทำสีใหม่ได้

ต่อมา “ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์”

ไม้เอ็นจิเนียร์

Engineered Wood Flooring หรือ “พื้นไม้เอ็นจิเนียร์” เป็นไม้ที่ถูกนำมาแปรรูปด้วยเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ทำให้มีความคงทน พื้นไม้ Engineer Wood ปลอดภัยจากปลวกหรือแมลงอื่น (กรณีมีการเคลือบ/อบน้ำยา) และยังให้ความสวยงามอีกด้วย ที่สำคัญไม้ที่นำมาผลิตนั้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นไม้จาก “ป่าปลูก” โดยพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะประกอบไปด้วยชั้นหลัก อยู่ 3 ชั้นได้แก่

  1. ชั้นบนเป็นผิวหน้าไม้ โดยฝานมาจากไม้ซุง มีความหนาระหว่าง 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นไม้จริง อาทิ ไม้โอ๊คธรรมชาติ, ไม้มะค่า, ไม้สัก, ไม้เมเปิ้ล เป็นต้น
  2. ไม้ชั้นกลาง เป็นไม้ยูคาลิปตัสฝานเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาซ้อนทับกัน เป็นชั้นๆ ซึ่งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ของ เค.เอส. วู้ด จะวางแบบสลับกันไปมาในแต่ละชั้น ประมาณ 7-9 ชั้น เพื่อลดการขยายตัวของพื้นไม้ แล้วปิดด้านบนด้วยหน้าไม้จริง
  3. ไม้ชั้นล่างสุด สำหรับสร้างสมดุล และความแข็งแรงให้กับพื้นไม้ โดยปกติจะปิดทับด้วยไม้อัดเนื้อแข็งกว่าไม้ชั้นกลาง สำหรับพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ของ เค.เอส. วู้ด จะเป็นไม้บีชเนื้อแข็งเต็มแผ่น ปิดผิวด้านหลัง พร้อมพ่น Oil paint เพื่อป้องกันความชื้น ขึ้นไป Core Board (ส่วนไม้ชั้นกลาง)

ข้อดีของไม้พื้น Engineer Wood มีอะไรบ้าง?

  1. ติดตั้งได้รวดเร็ว ไม่เสียเวลามาก
  2. มีความแข็งแรง และคงทนสูง ยืดหดตัวน้อยมาก ทนความชื้นได้ดีกว่าไม้ลามิเนต
  3. ปัจจุบันมีสีให้เลือกหลากหลาย

ข้อเสียของไม้พื้น Engineering Wood

  1. มีราคาที่สูงกว่าไม้ลามิเนต
  2. ติดตั้งได้บนพื้นที่เรียบได้ระดับเท่านั้น หากพื้นที่ไม่เรียบเมื่อติดตั้งจะเป็นเสียงดังขณะเดิน
  3. ทนรอยขีดข่วน แรงกดทับได้น้อยกว่าไม้ลามิเนต

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม >> A La Carte พื้นไม้เอ็นจิเนียร์

สรุปความแตกต่างด้วยปัจจัยการใช้งาน ระหว่างไม้ลามิเนต กับ ไม้เอ็นจิเนียร์

ไม้ลามิเนต เป็นไม้สังเคราะห์ที่มีความนิยม และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพราะมีความทนทาน สวยงาม มีลวดลายให้เลือกหลากหลายสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี แต่ก็มีข้อเสีย คือทนต่อความชื้นได้ไม่ดีเท่าไม้เอ็นจีเนียร์ ซึ่งไม้เอ็นจิเนียร์มีการพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยี จึงทำให้มีคุณสมบัติหลายๆด้านที่เด่น อาทิมีความคงตัวสูง ไม่ยืด ไม่หด แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงนี้ก็มีผลในเรื่องของราคาตามไปด้วย แต่การจ่ายแพงขึ้น ก็คุ้มค่ากับคุณภาพที่ได้มาเพิ่มนั่นเอง

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์

ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาที่ใช้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์

อย่าลืมเลือกวัสดุตามคุณสมบัติ เพื่อการใช้งานที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้านก่อนตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้บ้านของคุณนะครับ #KsWood #สัมผัสธรรมชาติได้ในบ้านคุณ

ติดตามบทความเกี่ยวกับการ >> ทำความสะอาดพื้นไม้